ถนนมิตรภาพ

ถนนมิตรภาพ เป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในบทความนี้จะมาพูดถึงประวัติของถนนมิตรภาพ การก่อสร้างถนนมิตรภาพ และการจราจรที่หนาแน่นบนถนนมิตรภาพช่วงวันหยุดยาว

ถนนมิตรภาพ

วันหยุดยาวทำการจราจรถนนมิตรภาพติดขัด

ช่วงวันหยุดยาวประชาชนทยอยเดินทางกลับภูมิลำเนากันอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจราจรถนนสายหลักในหลายพื้นที่ติดขัดเป็นบางช่วง โดยถนนมิตรภาพ และถนนเพชรเกษมปริมาณรถหนาแน่น ขณะที่ถนนพระราม 2 ปริมาณรถยังคงติดสะสม

วันที่ 28 ก.ค. 2566 เจ้าหน้าที่แขวงทางหลวงนครราชสีมา เปิดช่องทางพิเศษบริเวณถนนมิตรภาพ ตั้งแต่ กม.ที่ 86 ขึ้นเนินคลองไผ่ ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว ซึ่งสภาพทางเป็นทางขึ้นลงเนินเขามีความลาดชั้นสูง เจ้าหน้าที่ได้เปิดช่องทางพิเศษไปจนถึง กม.ที่ 90 ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว รวมระยะทาง 4 กิโลเมตร เพื่อช่วยระบายรถ และอำนวยความสะดวกจราจรถนนมิตรภาพ 24 ชั่วโมง

หลังจากประเมินร่วมกับตำรวจทางหลวง ว่าสภาพการจราจรบนถนนมิตรภาพ ช่วงผ่าน จ.นครราชสีมา มุ่งหน้าสู่ภาคอีสาน ในช่วงวันหยุดยาวต่อเนื่อง 6 วัน เทศกาลเข้าพรรษา มีปริมาณรถหนาแน่นเป็นระยะๆ

โดยจากการสำรวจพบว่าปริมาณรถมากแต่การจราจรบนถนนมิตรภาพยังคล่องตัว พบว่ามีการชะลอตัวในทางลาดชันขึ้นเขา และมีอุบัติเหตุระหว่างทาง ทำให้การจราจรชะลอตัว ผู้ขับขี่ต้องสัญจรด้วยความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้น

ซึ่งตลอดเส้นทางทั้งสายหลักและสายรองที่ผ่าน จ.นครราชสีมา หากประชาชนต้องการแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือขอความช่วยเหลือ สามารถประสานไปได้ที่สายด่วนฉุกเฉิน 1669 หรือศูนย์กู้ภัยฮุก 31 นครราชสีมา โดยเจ้าหน้าที่ฯ และกู้ภัย พร้อมให้บริการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

ส่วนการจราจรสายเหนือในวันหยุดยาววันนี้ พบว่าถนนพหลโยธินหมายเลข 1 ถนนทางหลวงหมายเลข 117 นครสวรรค์ – พิษณุโลก และถนนเลี่ยงเมืองหมายเลข 122 มีปริมาณรถเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะถนนพหลโยธินหมายเลข 1 ช่วงก่อนเข้าตัวเมืองนครสวรรค์ ทางแยกค่ายจิระประวัตินครสวรรค์ บริเวณเชิงสะพานเดชาติวงศ์ ไปจนถึงสามแยกอุทยานสวรรค์ มีปริมาณรถเต็มพื้นผิวการจราจรทั้ง 4 เลน รถเคลื่อนตัวได้ช้า

เนื่องจากเป็นจุดที่มีทางแยกสัญญาณไฟจราจรใกล้กันถึง 4 จุด แต่การจราจรโดยรวมไม่ถึงกับติดขัดหรือมีปัญหา ขณะที่ตำรวจจราจรได้ใช้การควบคุมสัญญาณไฟจราจรด้วยมือแทนแบบอัตโนมัติ เพื่อเร่งระบายรถให้ขึ้นสู่ภาคเหนือสะดวกยิ่งขึ้น พร้อมฝากประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้รถใช้ถนนวางแผนการเดินทางให้ดี โดยคาดว่าค่ำวันนี้จะมีปริมาณรถเพิ่มขึ้นมาก

ขณะที่การจราจรถนนพระราม 2 ขาออก ช่วงพื้นที่ จ.สมุทรสาคร ช่วงบ่ายที่ผ่านมาปริมาณรถสะสมจำนวนมาก รถเคลื่อนตัวค่อนข้างช้า-สลับหยุดนิ่ง โดยยังมีปริมาณรถสะสมที่เดินทางออกจากกรุงเทพ ที่ท้ายแถวติดสะสมอยู่บริเวณถนนพระราม 2 ช่วงมหาชัยเมืองใหม่ ส่วนหัวแถวอยู่บริเวณวัดเกตุมดีศรีวราราม คาดว่าช่วงค่ำการจราจรน่าจะคล่องตัวมากขึ้น

ขณะที่ถนนเพชรเกษม หมายเลข 4 ที่ บริเวณหน้าศูนย์ราชการอำเภอปราณบุรี ต.เขาน้อย อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นเส้นทางหลักเดียวที่ลงสู่ภาคใต้ ช่วงบ่ายมีปริมาณรถหนาแน่น โดยเฉพาะฝั่งขาลงสู่ภาคใต้มีรถติดสะสม ช่วงทางแยกที่มีสัญญาณไฟ รถมีปริมาณมากแต่ยังเคลื่อนตัวได้ดี โดยมีตำรวจคอยอำนวยความสะดวกตามจุดต่างๆ บริเวณสัญญาณไฟในพื้นที่มีรถติด 3 จุด เจ้าหน้าที่ต้องเร่งระบายรถ ความเร็ว 80-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ส่วนบริเวณถนนสายเอเชีย หมายเลข 32 ใน จ.พระนครศรีอยุธยามุ่งสู่ภาคเหนือ ช่วงบ่ายปริมาณรถหนาแน่น การจราจรหยุดชะงักเป็นบางช่วง ความเร็วรถอยู่ที่ 50- 60 กิโลเมตรต่อ 1 ชั่วโมง คาดว่าคืนนี้ปริมาณรถจะเพิ่มขึ้น

ถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2

“ถนนมิตรภาพ” ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพจังหวัดหนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) ถนนมิตรภาพเป็นหนึ่งในทางหลวงสายหลัก ทั้ง 4 ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12

ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลางสหรัฐในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง ถนนมิตรภาพนับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี พ.ศ. 2508

ประวัติถนนมิตรภาพ

คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ตั้งชื่อถนนช่วงสระบุรี–ปากช่อง–นครราชสีมาว่า “ถนนสุดบรรทัด” และในช่วงนครราชสีมา–ขอนแก่น–อุดรธานี–หนองคายได้รับการตั้งชื่อถนนว่า “ถนนเจนจบทิศ” เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ก่อนที่จะได้รับการสนันสนุนการก่อสร้างจากสหรัฐ ซึ่งเริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2498 จากสระบุรีจนถึงนครราชสีมา ระยะทางประมาณ 148 กิโลเมตร ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงถึงมิตรภาพของประเทศไทยกับสหรัฐในการก่อสร้างถนนร่วมกัน จึงขนานนามถนนสายนี้เป็น ถนนมิตรภาพ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 โดยมีพิธีมอบถนนให้ประเทศไทย ในวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2501

ต่อมาถนนมิตรภาพได้สร้างช่วงต่อจากนครราชสีมาจนถึงหนองคายในปี พ.ศ. 2504 ระยะทาง 360 กิโลเมตร สายนี้รัฐบาลไทยได้รับความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจแห่งสหรัฐ (USOM) พร้อมทั้งได้จ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันมาช่วยให้คำแนะนำด้วย ส่วนการออกแบบและการก่อสร้างถนนมิตรภาพอยู่ภายใต้การควบคุมของกรมทางหลวง ส่วนใหญ่สร้างทับแนวถนนที่มีอยู่เดิม ยกเว้นช่วงนครราชสีมา–บ้านไผ่ ที่แนวถนนเดิมคดเคี้ยวและอยู่ในสภาพชำรุด จึงสร้างแนวถนนขึ้นใหม่ เพราะย่นระยะทางลงกว่า 30 กิโลเมตร (ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 และ 2440) ถนนมิตรภาพสายนี้เริ่มเปิดใช้เมื่อ 28 มกราคม พ.ศ. 2508 ในการประกอบพิธีเปิด จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า

“ถนนหนทางมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ในท้องถิ่นใดก็ตามที่มีถนนไปถึง ความเจริญของท้องที่ การเพิ่มพูนขยายตัวของการทำมาหากินและรายได้ของประชาชนก็ย่อมจะบังเกิดเป็นเงาตามตัวมาด้วย ทางหลวงสายนี้จะเป็นประโยชน์ต่อมวลชนและทรัพยากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมาก เพราะจะช่วยเชื่อมชุมนุมชน ไร่นา และตลาดในท้องที่สำคัญๆ หลายแห่ง ให้ใกล้ชิดติดต่อกัน และจะเปิดทางเพื่อการพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ดังเช่นที่ประจักษ์อยู่แล้ว ในความเจริญทางเศรษฐกิจที่บังเกิดขึ้นกับอาณาบริเวณถนนมิตรภาพในเวลาอันไม่นานมานี้”

การก่อสร้างถนนมิตรภาพ

การก่อสร้างถนนมิตรภาพก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นแก่ความเจริญก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจและสังคมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ถนนมิตรภาพยังพัฒนาความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศลาวอีกด้วย

แต่เดิมกรมทางหลวงได้กำหนดหมายเลขทางหลวงสำหรับถนนมิตรภาพไว้เป็นหมายเลข 21 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในภายหลัง และได้กำหนดให้ทางหลวงสายสามแยกพุแค–หล่มสักเป็นทางหลวงหมายเลข 21 แทน

เดิมทีถนนมิตรภาพเป็นถนนแบบ 2 ช่องทางจราจรเท่านั้น แต่ปัจจุบันเป็นถนนแบบ 4-10 ช่องทางจราจร โดยเริ่มมีการขยายถนนมิตรภาพเป็นถนนแบบ 4 ช่องทางจราจรเมื่อสมัยรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ โดยในช่วงตั้งแต่ทางแยกต่างระดับถนนมิตรภาพ-ทางรถไฟสายตะวันออก ทางแยกต่างระดับตาลเดี่ยว-ทับกวาง หน้าโรงงานปูนซีเมนต์นครหลวงบางช่วง ทางแยกต่างระดับสีคิ้ว-ตัวเมืองนครราชสีมา ในเมืองนครราชสีมาบางช่วง และในเขตเทศบาลนครขอนแก่นบางช่วงเป็นถนนขนาด 10 ช่องจราจร

ถนนมิตรภาพเป็นถนนสายหลักที่สามารถเดินทางไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นทางหลวงสายประธานสายเดียวที่ไม่ได้มีจุดเริ่มต้นในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งถนนมิตรภาพแยกมาจากถนนพหลโยธินกิโลเมตรที่ 106+615 (กิโลเมตรที่ 107+350 เดิม) ที่ทางแยกต่างระดับมิตรภาพ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี มุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก

  • ถนนมิตรภาพเข้าสู่จังหวัดนครราชสีมา ผ่านอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา ผ่านตัวเมืองนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางออกจากเมืองขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอโนนสูง อำเภอคง อำเภอโนนแดง อำเภอสีดา และอำเภอบัวลาย
  • ถนนมิตรภาพเมื่อเข้าสู่จังหวัดขอนแก่น เส้นทางจะผ่านอำเภอพล อำเภอโนนศิลา อำเภอบ้านไผ่ อำเภอบ้านแฮด อำเภอเมืองขอนแก่น เข้าเขตเทศบาลนครขอนแก่น ผ่านอุโมงค์แยกขอนแก่น อำเภอน้ำพอง และอำเภอเขาสวนกวาง
  • ถนนมิตรภาพเข้าสู่จังหวัดอุดรธานี ผ่านอำเภอโนนสะอาด อำเภอกุมภวาปี อำเภอเมืองอุดรธานี โดยชื่อถนนช่วงที่ผ่านเทศบาลนครอุดรธานีมีชื่อว่า “ถนนทหาร” (ช่วงแยกบ้านจั่น–วงเวียนห้าแยกน้ำพุ) และ “ถนนอุดรดุษฎี” (วงเวียนห้าแยกน้ำพุ–แยกเก่าน้อย) จากนั้นออกจากตัวเมือง และผ่านอำเภอเพ็ญเป็นอำเภอสุดท้ายของจังหวัด
  • ต่อมาเส้นทางถนนมิตรภาพได้เข้าสู่จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดสุดท้าย ผ่านอำเภอสระใคร แล้วสิ้นสุดที่อำเภอเมืองหนองคาย เมื่อใกล้ถึงเทศบาลเมืองหนองคาย ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จะแยกไปเป็นทางโททางด้านซ้าย ซึ่งเป็นถนนเลี่ยงเมืองที่ก่อสร้างขึ้นมาใหม่ ในชื่อถนนเฉลิมพระเกียรติ โดยไปสิ้นสุดที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาว ในตำบลมีชัย
  • ส่วนถนนมิตรภาพสายเข้าเมืองที่เป็นทางเอก ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 จะไปสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 หน้าศาลากลางจังหวัดหนองคาย (หลังเก่า) ระยะทาง 7 กิโลเมตร

หลักกิโลเมตรของถนนมิตรภาพ ปัจจุบันเริ่มต้นกิโลเมตรที่ 0 ที่จังหวัดสระบุรี ซึ่งเดิมจะนับกิโลเมตรที่ 0 จากกรุงเทพมหานครตามหลักกิโลเมตรของถนนพหลโยธิน ถนนมิตรภาพตลอดสาย มีระยะทางทั้งสิ้น 508 กิโลเมตร แต่ถ้าหากนับเลขหลักกิโลเมตรตามถนนพหลโยธินจากกรุงเทพมหานครขึ้นมา จะมีระยะทางรวมทั้งสิ้น 615 กิโลเมตร ปัจจุบันถนนมิตรภาพตลอดสาย (รวมทั้งส่วนที่ไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาวด้วย) ถูกกำหนดให้เป็นทางหลวงเอเชียสาย 12

ถนนมิตรภาพ

ถนนมิตรภาพ แบ่งเขตการควบคุมออกเป็น 22 ตอน

ช่วงเขตการควบคุมถนนมิตรภาพของแขวงทางหลวงขอนแก่นที่ 1 ช่วงที่ 17 และ 18 ตอนที่ 0502 ตอน ขอนแก่น – หินลาด จะใช้เลขตอนที่ 0502 เป็นเลขเดียวกันทั้ง 2 ช่วง เนื่องจากระยะทางของถนนมิตรภาพช่วงนั้นเป็นระยะทางยาว และอยู่ในเทศบาลนครขอนแก่น และไม่รวมเส้นทางสายเก่า, ถนนสุดบรรทัด, ถนนเจนจบทิศ, ทางหลวงเอเชีย, และทางเลี่ยงเมือง

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 สายการเคหะแห่งชาติ–หนองคาย หรือ ถนนเข้าเมืองหนองคาย, ถนนมิตรภาพสายเก่า เป็นทางหลวงแผ่นดินขนาด 6 ช่องจราจร ไปกลับช่องละ 3 ช่องจราจร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ต่อมาได้กำหนดให้เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233    -เส้นทางเริ่มต้นบนทางแยกบริเวณกิโลเมตรที่ 501 ของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในอำเภอเมืองหนองคาย โดยทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 จะแยกเป็นทางโทไปทางตะวันตกเฉียงเหนือไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ส่วนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 เป็นทางเอกมุ่งไปทางทิศเหนือ ไปสิ้นสุดบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212, ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 243 และถนนเจนจบทิศ ที่สี่แยกหนองคาย ในเมืองหนองคาย

 

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่  ningyo-case.com

สนับสนุนโดย  ufabet369